go to main prd

คู่มือการดูแล

การตั้งศูนย์

ในการป้องกันการสั่น ลื่น เสียงดัง และการสึกหรอไม่สม่ำเสมอ การตรวจสอบปรับแนวล้อมีความจำเป็น

ความสำคัญของการตั้งศูนย์ล้อ

  • หากยางของคุณสึกหรอไม่สม่ำเสมอ เช่น ไหล่ยางด้านในสึกหรอเร็วกว่าดอกยางที่เหลือ รถคุณอาจสูญเสียศูนย์ ในสภาวะแบบนี้ไม่เพียงแต่ทำให้อายุการใช้งานของยางที่สั้นลง อีกทั้งยังส่งผลต่อลักษณะการควบคุมรถของคุณในเชิงลบอีกด้วย ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ หากคุณพบการสึกหรอที่ผิดปกติ ให้ตรวจสอบศูนย์ของรถคุณทันที

ชนิดของการตั้งศูนย์ล้อ

เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม ให้คลิกที่คำว่า

  • คาสเตอร์
  • แคมเบอร์
  • โท
Hankook Tire & Technology-Help & Support-Tire Care Guide-Wheel Alignment-Caster

คาสเตอร์

คำจำกัดความของคาสเตอร์ คือ มุมที่สร้างขึ้นโดยแกนของการบังคับเลี้ยวและเส้นที่ทำแนวตั้งกับพื้นดินเมื่อมองจากด้านข้าง คาสเตอร์เป็นบวก หากแกนทำมุมย้อนกลับ และเป็นลบ หากไปข้างหน้า โดยปกติแล้ว คาสเตอร์ที่เป็นบวกจะทำให้ยานพาหนะมีความเสถียรมากขึ้นที่ความเร็วสูง

Hankook Tire & Technology-Help & Support-Tire Care Guide-Wheel Alignment-Camber

แคมเบอร์

คำจำกัดความของแคมเบอร์ คือ มุมที่สร้างขึ้นโดยแกนของการบังคับเลี้ยวและเส้นที่ทำแนวตั้งกับพื้นดินเมื่อมองจากด้านหน้าหรือด้านหลัง หากด้านบนของยางไกลออกไปมากกว่าด้านล่าง (กล่าวคือ ห่างจากเพลา) จะเรียกว่า แคมเบอร์เป็นบวก หากด้านล่างของยางไกลออกไปมากกว่าด้านบน จะเรียกว่า แคมเบอร์เป็นลบ หากยางตั้งอยู่ในแนวตั้งอย่างสมบูรณ์แบบ จะเรียกว่า แคมเบอร์เป็นกลาง
ด้วยการพัฒนาและเทคโนโลยีของช่วงล่าง รถส่วนใหญ่ในปัจจุบันจึงมีแคมเบอร์เป็นลบ ซึ่งเพิ่มพื้นที่สัมผัสของยางด้านนอกและให้สมรรถนะในการเข้าโค้งมีความเสถียร

Hankook Tire & Technology-Help & Support-Tire Care Guide-Wheel Alignment-Toe

โท

คำจำกัดความของโท คือ มุมที่สร้างขึ้นโดยทิศทางยางและรถ เมื่อมองจากด้านบน หากด้านหน้าของยางเข้าข้างใน จะเรียกว่า โทอิน หากออกข้างนอก จะเรียกว่า โทเอาต์ โดยปกติแล้ว โทเอาต์ที่มากเกินไปมักเป็นสาเหตุให้พื้นผิวดอกยางในเกิดการสึกเร็ว และกลับกัน โทอินที่มากเกินไปเป็นสาเหตุให้พื้นผิวดอกยางนอกเกิดการสึกเร็ว ทั้งสองกรณีส่งผลให้ความสบายในการขับขี่แย่ลงและประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงลดลง

เวลาที่ต้องตรวจสอบการตั้งศูนย์ล้อ

  • ฮันกุกขอแนะนำให้ตรวจสอบศูนย์ล้อจำเป็นทุกปี หรือทุกๆ 20,000 กม.
  • หลังจากเกิดอุบัติเหตุ
  • หลังจากเปลี่ยนยางใหม่
  • เมื่อมีการสึกหรอของดอกยางในส่วนของไหล่ยางที่ผิดปกติ
  • เมื่อพวงมาลัยไม่เสถียรและ/หรือสั่น
  • เมื่อการขับขี่ไม่สบายหรือสมรรถนะในการใช้เชื้อเพลิงแย่ลง